บริบทของกลุ่ม

ความเป็นมาของกลุ่ม

การเริ่มต้นของ แบรนด์ “เพื่อนไม้” เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2553  เมื่อคุณแม่ป่วยและต้องออกจากงานที่กรุงเทพ มาดูแลท่านที่จังหวัดแพร่บ้านเกิด การที่ไม่ได้วางแผนเรื่องรายรับของตัวเอง ก็เลยต้องนับ 1 ใหม่กับงานที่เห็นจนชินตาตั้งแต่เกิด คืองานไม้สัก หลังเข้าไปสมัครงานในโรงงานเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน ทำได้ประมาณ 3 เดือน จึงออกมาเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้ลองลุยงานด้านอื่น ๆ ของงานไม้สัก  ล้มลุกคลุกคลานมา จนในปี พ.ศ. 2558 ได้ตัดสินใจทำงานประตูไม้สัก Modern เพื่อรองรับ ความต้องการของโลกปัจจุบัน และการเข้าไปเป็นคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์หัวดง ตำบลดอนมูล ช่วยกลุ่มพัฒนา ขับเคลื่อนงานไม้สักร่วมกับหน่วยงานราชการ ต่าง ๆ อาทิเช่น วิทยาลัยชุมชนแพร่ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ พัฒนาชุมชน เป็นต้น เพื่อผลักดันงานไม้สักให้สามารถแข่งขันกับตลาดสากลได้ โดยทางร้าน “เพื่อนไม้” จดทะเบียนก่อตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เมื่อปี พ.ศ. 2562

แนวคิด

จากการศึกษาข้อมูลบริบทและสภาพทั่วไปของร้าน “เพื่อนไม้” ได้ทราบถึงแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือน ได้มีการผลิตมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553  ซึ่งในระยะนั้นเป็นการรับทำตามความต้องการของลูกค้าทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเล็กๆ น้อย ๆ ต่อมาความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์ภายในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นลำดับ ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาลงทุนในการผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน คือ มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์โดยตรงทุกอิริยาบท นับตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน เฟอร์นิเจอร์จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งสำหรับอาคารบ้านเรือนและสถานปรกอบธุรกิจต่าง ๆ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงและประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้น ความจำเป็นที่จะใช้สินค้าประเภทนี้จึงมีมากขึ้นตามลำดับ

ฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าที่ไม่เหมือนกับสินค้าประเภทอื่น คือไม่สามารถกักตุนไว้ได้ เพราะขึ้นอยู่กับแฟชั่น ประกอบกับคนไทยเรามักไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าใดนัก การจะจัดหาเฟอร์นิเจอร์ไว้ใช้จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม สไตล์ความแข็งแรงทนทาน และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้ามีฐานะไม่ค่อยจะอำนวยนัก ก็จะซื้อเฟอร์นิเจอร์ประเภทรูปแบบสวยส่วนคุณภาพอาจจะไม่คำนึงถึง แต่ถ้ามีฐานะดีเฟอร์นิเจอร์ที่เลือกใช้จะเป็นแบบที่ได้รับการตกแต่ง และออกแบบโดยมัณฑนากร ซึ่งมีราคาแพงลักษณะของตลาดเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นตลาดนอกระบบเพราะการผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า การผลิตเพื่อการส่งออกยังไม่กว้างขวางนัก เป็นแบบกึ่งอุตสาหกรรม ภาวะของตลาดภายในประเทศขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร และการยกระดับความเป็นอยู่หรืออัตรารายได้เป็นปัจจัยสำคัญ

เฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้จริง การผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้จริงต้องอาศัยช่างเทคนิคที่มีความชำนาญค่อนข้างสูง มีฝีมือ วัสดุที่ใช้เป็นไม้จริงส่วนมากนิยมใช้เป็นไม้ที่มีลายไม้สวยงามเช่น ไม้สัก ไม้แดง ฯลฯ การต่อไม้ให้เกิดเป็นโครงสร้างใช้การต่อเข้ามุมไม้ซึ่งมีรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเข้าปากชน(BUTT JOINT) การเข้าบาก(DADO JOINT) การเข้าเดือย(MORTISE AND TENON JOINT) แต่ละวิธีเหมาะกับงานบางอย่างเท่านั้น การทำเคลือบผิวเฟอร์นิเจอร์ใช้วิธีการลงเชลแล็ก แลคเกอร์เท่านั้นไม่นิยมทำสีย้อม เพื่อให้เห็นลายไม้ที่สวยงาม เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเป็นเครื่องมือช่างไม้ที่เครื่องมือมือ และมีเครื่องมือไฟฟ้าช่วยในบางกรณี เครื่องจักรอาจจะมีก็ได้หรือไม่มีก็ได้ การผลิตจะเป็นแบบสั่งทำสั่งผลิตมากกว่า รูปแบบเฟอร์นิเจอร์จะเป็นรูปแบบตามที่เจ้าของต้องการ เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์รูปแบบนี้จะเป็นแบบสั่งทำจึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเฟอร์นิเจอร์ประเภทอื่นๆ โจทย์ใหญ่ของร้านเพื่อนไม้น่าจะเป็น

          1. เราจะตอบสนองสิ่งที่จำเป็น (Needs  not  Wants) เพื่อเสริมศักยภาพ สลายข้อจำกัดของแต่ละผู้ผลิต ได้อย่างไร  ในเงื่อนไขที่ซ้อนเข้ามาอีกคือ เราจะพัฒนาอย่างไรให้คนผลิตเห็นทั้งวิถีหม้อห้อมในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

          2. เราจะพัฒนาอย่างไรให้คน/หน่วยงานที่ส่งเสริมเห็นทั้ง วิถีการใช้ผลิตภัณฑ์ไม้กับชีวิตประจำวัน ในด้านสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม และออกแบบให้เหมาะกับสุขภาพ

          3. เราจะสื่ออย่างไรให้คนทั้งหลาย เห็น วิถีเฟอร์นิเจอร์ไม้ในด้านสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม และออกแบบให้เหมาะสมกับสุขภาพ  ที่เป็นมรดกวัฒนธรรมการใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้มาช้านาน   โดยเชื่อมโยงไปหาแนวคิด “ความพอเพียง” และ “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน” ในการที่จะเชื่อมร้อยโลกเข้าด้วยกันอย่างมีคุณค่าทั้งผู้เยือน และ ฝ่ายเหย้า เมื่อเราเห็นธงใหญ่ และเราจะปักธงเล็ก ๆ ได้อย่างไร  กิจกรรมควรจะเป็นอย่างไร  การสนับสนุนทรัพยากรไปหาแกนหลัก แกนรองอย่างไร การนำวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ให้มีความแตกต่าง หลากหลายรูปแบบ และได้รับมาตรฐาน

            วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง

  1. เป็นการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ให้คงอยู่ตลอดไป

          2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และสามารถถ่ายถอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับเยาวชนในสังคมปัจจุบัน

          3. ช่วยส่งเสริมและเผยแพร่เอกลักษณ์ของคนในจังหวัดแพร่

          4. เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และช่วยให้ผู้ว่างงานได้มีงานทำ

            เป้าหมายโดยรวมของกลุ่ม

          กลุ่มมีเป้าหมายที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มความเข้มแข็งของสมาชิก และจัดทำแผนในการพัฒนาเฟอร์นิเจอร์ไม้ให้ได้คุณภาพ มีความหลากหลาย เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และเพิ่มจำนวนให้ส่งทันตามความต้องการของลูกค้า